เรื่องน่ารู้ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม - ภาษีป้าย คืออะไร?

 สวัสดีครับ วันนี้ทางเอเรคีขอนำเสนอสาระดีๆ เช่นเคย เรื่องนี้โดยเฉพาะผู้ประกอบการไม่ควรพลาดกับ เรื่องน่ารู้ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม - ภาษีป้าย คืออะไร? สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังดำเนินธุรกิจที่กำลังจะทำป้ายโฆษณาเพื่อโปรโมทธุรกิจ มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร? ไปรับชมกันได้เลยครับ




ภาษีป้าย คืออะไร?
ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้หรือโฆษณาไว้ด้วยอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักหรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ

ป้ายที่ต้องจ่ายภาษี

1. ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย

2. ป้ายเพื่อหารายได้ เช่น ป้ายโฆษณาต่างๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก เป็นต้น


ป้ายที่ยกเว้นภาษี

1. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า /คน /สัตว์

2. ป้ายที่แสดงหรือติดตั้งไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล/รถจักรยานยนต์/รถบดถนนหรือยานพาหนะที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม

3. ป้ายที่มีล้อเลื่อน,ป้ายที่ใช้แสดงงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

4. ป้ายของผู้ประกอบการการเกษตรที่เป็นผลผลิตของตนเอง

5. ป้ายของราชการ,วัด/สมาคม/มูลนิธิ/โรงเรียนเอกชน



ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย

ยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ป.1)

สถานที่ยื่น

สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติดตั้ง/แสดงอยู่สำนักงานเขตที่มีการจดทะเบียนยานพาหนะ

ระยะเวลาการชำระภาษี
ภายใน 15 วัน จากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(หากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน)
สถานที่ชำระภาษี
สำนักงานเขตที่ยื่นแบบ
ธนาคารกรุงไทย
ธนาณัติ/ตั๋วแลกเงินของธนาคารสั่งจ่ายส่วนท้องถิ่น
ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน

*** กรณีภาษีป้าย 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระเป็น 3 งวดได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี



หลักฐานการยื่นภาษีป้าย

กรณีป้ายใหม่

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ทะเบียนการค้า

4. หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด(กรณีนิติบุคคล)

5. รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้าง X ยาว

6. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย/ใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

กรณีป้ายเก่า

**เหมือนกับป้ายใหม่ แต่ต้องแสดงใบเสร็จเสียภาษีของปีก่อน

หวังว่าข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อย พบกันใหม่กับบทความดีๆที่ทางเรานำเสนอ อย่าลืมติดตามกันนะครับ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ www.ereky.com

Comments

Popular posts from this blog

สบู่ที่เราใช้ในทุกวันนี้ มีกี่ชนิด ?

รับผลิตและสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม

4 คำถามยอดนิยม คำถามที่คนถามกับ ChatGPT