"มะเร็งปากมดลูก" คร่าชีวิตหญิงไทย
“โรคมะเร็งปากมดลูก” มีความน่ากลัวสำหรับผู้หญิง จากสถิติคร่าชีวิตผู้หญิงไทยเฉลี่ย 14 คนต่อวัน หรือคิดเฉลี่ยทั่วโลกทุก 2 นาที จะมีผู้หญิง 1 คน ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 5,000 คน โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม “มะเร็งปากมดลูก” ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่มาจากการติดเชื้อ “ไวรัสฮิวแมนแพพิโลมา”เรียกย่อๆว่า “เอชพีวี” โดยทั่วไปแล้วเชื้อนี้ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม หรือการสัมผัสโดยตรงทางผิวหนัง การใช้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 5,000 คน โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม “มะเร็งปากมดลูก” ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่มาจากการติดเชื้อ “ไวรัสฮิวแมนแพพิโลมา”เรียกย่อๆว่า “เอชพีวี” โดยทั่วไปแล้วเชื้อนี้ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม หรือการสัมผัสโดยตรงทางผิวหนัง การใช้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ หัวหน้าสาขาวิชามะเร็งนรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลขาธิการ กล่าวว่า หลายปีมาแล้วมีการพูดถึงโครงการวัคซีนแห่งชาติ “วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก” จนพ่อแม่ผู้ปกครองต้องติดตามอย่างมีความหวังว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นจริง และมีผลทางปฏิวัติในเร็ววัน
นั่นเป็นเพราะ ว่ามะเร็งปากมดลูก มีวิธีการป้องกัน 2 วิธี ได้แก่ การตรวจคัดกรอง และการให้วัคซีน HPV อีกประเด็นสำคัญ วัคซีนยังมีราคาแพง หาก เป็นวัคซีนพื้นฐานราคาจะถูกลงอีกมาก ใครที่พอจะมีกำลังจ่ายเองก็พอจะตัดสินใจได้อย่างสบายใจขึ้น ในวันวานหลายคน จึงหมดความหวังเพราะเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นแค่โครงการในฝัน คงอีกนานที่จะเป็นจริงประเทศไทยจน ที่ทำได้ก็คือรณรงค์ช่วยกันลดมะเร็งปากมดลูกโดยสอนเยาวชนของเรา ให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว ผู้ชายไม่เอาเปรียบผู้หญิง มีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงเวลาอันสมควรและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยไปก่อน ถ้าทำได้ไม่เพียงแต่ลดอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกเท่านั้น ยังได้อะไรๆที่ดีงามกลับคืนสู่สังคม
ถัดมา คือ “การตรวจคัดกรองมะเร็ง” เช่น การตรวจแป๊ปสเมียร์ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเซลล์บริเวณปากมดลูกเพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติ และ ประการสุดท้าย คือ “การฉีดวัคซีนป้องกันเอชพีวี” ซึ่งหากจะฉีดวัคซีนให้ได้ผลและเกิดประโยชน์มากที่สุดนั้น ควรฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
ความคืบหน้า วันนี้ กรุงเทพมหานครได้นำร่องเปิดโครงการ “การให้บริการวัคซีนป้องกันเอชพีวี (HPV) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร” ขึ้นมาแล้ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนกว่า 18,000 คน ใน 438 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์สำคัญ เนื่องจากการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กในช่วงอายุนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูกได้สูงที่สุด
จุฑาภัค มีฉลาด ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวิชากร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการการให้บริการฉีดวัคซีนป้อง กันเอชพีวี กล่าวว่า นับว่าเป็นความโชคดีของโรงเรียนและเด็กๆ ที่ได้รับโอกาสนี้จาก กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเรามีการสอนเรื่องเพศศึกษาและการปฏิบัติตัวที่ดี เพื่อป้องกันตัวเองจากภัยและโรคอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี เมื่อมีวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เราก็อยากจะให้เด็กของเราเข้าถึงได้ จึงรู้สึกขอบคุณกรุงเทพมหานครมากที่จัดโครงการนี้ขึ้นมา เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในอนาคตทั้งตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
“มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่อันตรายมาก คุณพ่อ คุณแม่ดีใจมาก ที่หนูจะได้รับวัคซีนป้องกันเอชพีวีฟรี เพราะถ้าไปฉีดข้างนอก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายพันบาท หนูไม่กลัวเข็ม แต่กลัวการเจ็บป่วยที่ทรมาน หนูอยากมีร่างกายแข็งแรงเพื่อทำอะไรดีๆในวันข้างหน้าให้กับพ่อแม่และประเทศ ค่ะ ขอบคุณกรุงเทพมหานครที่จัดโครงการดีๆแบบนี้ให้หนูและเพื่อนๆค่ะ” ด.ญ.พลอยไพลิน ทันการ นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเอชพีวีกล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานภาครัฐแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดให้มีบริการฉีด วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแก่เด็กนักเรียนฟรี และจากการศึกษาข้อมูลพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวีเป็นการป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการดำเนินการเชิงรุกที่เน้นป้องกันลดความเสี่ยงตั้งแต่แรกเริ่ม
นอกจากนี้ ในอีกมุมหนึ่งยังช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอนาคต อีกด้วย กทม. จึงอยากเชิญชวนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อป้องกันโรคให้กับประชาชนและ ประหยัดงบประมาณเพื่อการรักษาในอนาคต
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ย้ำว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนต้องพิจารณาว่า เราอยากจะเสียค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยเป็นค่าฉีดวัคซีนป้องกันในวันนี้ หรือจะยอมเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนๆ เพื่อการรักษาโรคในวันข้างหน้า การฉีดวัคซีนยังเป็นการลดภาระทางสังคมในการดูแล รักษา ลดความเจ็บปวดทางด้านสภาพจิตใจทั้งของผู้ป่วยเอง คนรอบข้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สำคัญกว่าเรื่องค่าใช้จ่ายเสียอีก
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เสริมว่า การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องการประชาชนที่แข็งแรงเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติใน อนาคต การฉีดวัคซีนได้ป้องกันชาวโลกจากโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคฝีดาษ ซึ่งถูกกำจัดหมดไปจากโลกนี้ โรคโปลิโอ ซึ่งกำลังจะถูกกำจัดออกไปจากโลกนี้ในลำดับถัดไป
นอกจากนี้แล้ว บางโรคที่ยังไม่สามารถกำจัดออกไปโดยเด็ดขาดก็ถูกควบคุมป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค อย่างเช่น คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฉะนั้นนี่จึงเป็นโอกาสดีของเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่จะ ได้รับการป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก ความสำเร็จในการป้องกันคง พิสูจน์ให้เห็นได้ไม่ยาก สถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ จะสะท้อนให้เห็นเองในอนาคต ทั้งนี้ในปีหนึ่งๆพบว่ามีสตรีป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก ทั้งๆที่เป็นมะเร็งที่ตรวจพบง่าย สามารถป้องกันได้
จากสถิติเราพบ ว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 52 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิต ที่น่าสนใจคือข้อมูลสำรวจใหม่ที่ว่า “ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ 14 คน” ถือเป็นสถิติล่าสุด เพราะการสำรวจก่อนหน้านี้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก โดยเฉลี่ยวันละ 7 คนเท่านั้น แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาถึงอีกเท่าตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วงอายุ 30–60 ปี
“มะเร็งปากมดลูก” เป็นหนึ่งในไม่กี่มะเร็งที่ป้องกันได้ อย่างที่เกริ่นกันไปแล้วข้างต้น อันดับแรกคือ “ลดพฤติกรรมเสี่ยง” เช่น ไม่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน ถัดมา คือ “การตรวจคัดกรองมะเร็ง”เช่น การตรวจแป๊ปสเมียร์ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเซลล์บริเวณปากมดลูกเพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติ และ ประการสุดท้าย คือ “การฉีดวัคซีนป้องกันเอชพีวี” ซึ่งหากจะฉีดวัคซีนให้ได้ผลและเกิดประโยชน์มากที่สุดนั้น ควรฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
ความคืบหน้า วันนี้ กรุงเทพมหานครได้นำร่องเปิดโครงการ “การให้บริการวัคซีนป้องกันเอชพีวี (HPV) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร” ขึ้นมาแล้ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนกว่า 18,000 คน ใน 438 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์สำคัญเนื่องจากการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กในช่วงอายุนี้จะมี ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้สูงที่สุด
จุฑาภัค มีฉลาด ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวิชากร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการการให้บริการฉีดวัคซีนป้อง กันเอชพีวี บอกว่า นับว่าเป็นความโชคดีของโรงเรียนและเด็กๆ ที่ได้รับโอกาสนี้จากกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเรามีการสอนเรื่องเพศศึกษาและ การปฏิบัติตัวที่ดี เพื่อป้องกันตัวเองจากภัยและโรคอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกซึ่งเกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี
“เมื่อมีวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เราก็อยากจะให้เด็กของเราเข้าถึงได้ จึงรู้สึกขอบคุณกรุงเทพมหานครมากที่จัดโครงการนี้ขึ้นมา เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในอนาคตทั้งตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ” ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวิชากร กล่าว
"มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่อันตรายมาก คุณพ่อ คุณแม่ดีใจมากที่จะได้รับวัคซีนป้องกันเอชพีวีฟรี เพราะหากไปฉีดข้างนอก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายพันบาท หนูไม่กลัวเข็ม แต่กลัวการเจ็บป่วยที่ทรมาน หนูอยากมีร่างกายแข็งแรงเพื่อทำอะไรดีๆในวันข้างหน้าให้กับพ่อแม่และประเทศ ค่ะ ขอบคุณกรุงเทพมหานครที่จัดโครงการดีๆแบบนี้ให้หนูและเพื่อนๆค่ะ” ด.ญ.พลอยไพลิน ทันการ นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเอชพีวี กล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานภาครัฐแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดให้มีบริการฉีด วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแก่เด็กนักเรียนฟรี และจากการศึกษาข้อมูลพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวีเป็นการป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการดำเนินการเชิงรุกที่เน้นป้องกัน ลดความเสี่ยงตั้งแต่แรกเริ่ม
นอกจากนี้ ในอีกมุมหนึ่งยังช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอนาคต อีกด้วย กทม. จึงอยากเชิญชวนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อป้องกันโรคให้กับประชาชนและ ประหยัดงบประมาณเพื่อการรักษาในอนาคต
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ย้ำว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนต้องพิจารณาว่า เราอยากจะเสียค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยเป็นค่าฉีดวัคซีนป้องกันในวันนี้ หรือจะยอมเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนๆ เพื่อการรักษาโรคในวันข้างหน้า การฉีดวัคซีนยังเป็นการลดภาระทางสังคมในการดูแล รักษา ลดความเจ็บปวดทางด้านสภาพจิตใจทั้งของผู้ป่วยเอง คนรอบข้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สำคัญกว่าเรื่องค่าใช้จ่ายเสียอีก
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เสริมว่า การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องการประชาชนที่แข็งแรงเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติใน อนาคต การฉีดวัคซีนได้ป้องกันชาวโลกจากโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคฝีดาษ ซึ่งถูกกำจัดหมดไปจากโลกนี้ โรคโปลิโอ ซึ่งกำลังจะถูกกำจัดออกไปจากโลกนี้ในลำดับถัดไป
นอกจากนี้แล้ว บางโรคที่ยังไม่สามารถกำจัดออกไปโดยเด็ดขาดก็ถูกควบคุมป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค อย่างเช่น คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฉะนั้นนี่จึงเป็นโอกาสดีของเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่จะ ได้รับการป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก
ความสำเร็จในการป้องกันคงพิสูจน์ให้เห็นได้ไม่ยาก สถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ จะสะท้อนให้เห็นเองในอนาคต
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.huffingtonpost.co.uk
Comments
Post a Comment