หลักฐานชี้ชัด...นอนน้อย เสี่ยง "ตายเร็ว"

ไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยเพื่อยกเมฆให้กลัวแต่อย่างใด เพราะการนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน แม้ ว่าจะมีการดูแลร่างกายอย่างดีเยี่ยม ทั้งออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หรือไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ มีความสุขกับชีวิตและปราศจากความเครียดของจิตใจ ความตายก็สามารถมาเยือนถึงหน้าบ้าน...

 
ยิ่งคนในช่วงอายุ 25 ปี ขึ้นไปจนถึง 50 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นสองเท่า เนื่องจากพฤติกรรมไลฟ์สไตล์ชีวิตเปลี่ยนไป อย่างที่ นายรานจันดาส (Ranjan Das) วัย 42 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทบริษัทเอกชนชื่อดังของอินเดีย เสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นรุนแรง(หัวใจวาย) อันมีสาเหตุมาจากการนอนเพียงวันละ 5 ชั่วโมง
      
       การนอนที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน จะ นำไปสู่การเพิ่มขึ้น 39% ในการเกิดโรคหัวใจ เพิ่มระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 2 เท่าและเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขึ้น 350% - 500% เมื่อเทียบกับผู้ที่หลับมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังลดลงและยังเพิ่มโอกาสเพิ่มขึ้นของสารพิษ ในร่างกายอย่างมะเร็งอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุการณ์เสียชีวิต
      
       และหากยิ่งน้อยเปอร์เซ็นต์ยิ่งเพิ่มมากขึ้น 1 เท่า  


  "ร่างกาย" มนุษย์เราก็เหมือน "เครื่องจักร" ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนเป็นการสะสมพลังงานและขับของเสีย ซึ่งข้อดีขอการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ 8 ชั่วโมง จะช่วยให้
      
       ไร้โรคภัย อายุยืน
        เพราะร่างกายได้ซ่อมแซมความสึกหลอ เนื่องจากสมองได้พักผ่อน กล้ามเนื้อคลายตัว หัวใจสงบขึ้น ความดันลดลง การนอนหลับเพียงพอจะช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลายรวมไปถึงกลไกทาง ชีววิทยาของร่างกายทำงานอย่างเป็นปรกติ
        นอกจากนี้ยังช่วยให้อวัยวะต่างๆ อย่าง ตับ ไต ลำไส้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น และเวลาหลับร่างกายจะหลั่งสาร "เมลาโทนิน" ฮอร์โมนที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ให้ป่วยง่าย
      
       มีความสุข ไม่แก่ง่าย
        เนื่องจากการได้พักผ่อนร่างกาย ทำ ให้ร่างกายสร้างเคมีแห่งความสุข "ซีโรโทนิน" ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศเคมีหนุ่ม-สาวที่ชื่อว่า "โกรทฮอร์โมน" แทนที่จะค่อย ๆ ลดลงตามช่วงอายุวัย ทำให้ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
      
       ความจำดี ฉลาด
        เพราะสมองประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ นับไม่ถ้วน เมื่อได้พักผ่อนเซลล์เหล่านั้นได้รับการซ่อมแซม ถ้าเปรียบเทียบสมองเหมือนคอมพิวเตอร์ กลไก ต่างๆ ที่ได้พักก็กลับมาทำงานได้เต็มที่ ร่างกายก็สดชื่นซึ่งทำให้มีผลต่อการพร้อมเปิดรับเรียนรู้ที่ดีขึ้น เราก็สามารถฉลาดเพิ่มมากขึ้น ความจำก็ดีขึ้น
      
       หุ่นดี ไม่อ้วน
        ไม่ใช่เพราะกินแล้วนอนเพียงอย่างเดียว การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ควบคุมความอยากอาหาร ฮอร์โมน Ghrelin เพิ่มขึ้น และร่างกายยังทำให้ระบบการเผ่าผลาญทำงานเต็มประสิทธิภาพ
      
        แต่ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุดของการนอนหลับพักผ่อนคือ 22.00-06.00 น. โดย การนอนหลับประกอบด้วย 2 ช่วง ช่วงขั้น Non-REM จะช่วยในการซ่อมแซมและเสริมสร้างสภาพร่างกาย การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการ และมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต Growth Hormone แบ่งเป็น 3 ระยะ สังเกตง่ายๆ คือ
      
        ระยะที่ 1 เรา จะยังหลับไม่สนิท คือครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Hypnic Myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
        ระยะที่ 2 ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ Rapid Waves เรียก Sleep Spindles
        ระยะที่ 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ Delta Waves
        ระยะที่ 4 ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ Delta Waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
        ส่วนช่วงขั้น REM ที่จะเกิดขึ้นภายใน 90 นาทีที่หลับที่จะช่วยในการปรับปรุงจิตใจ
      
        ดังนั้นการนอนที่เพียงพอและในช่วงเวลาที่พอดี จึงมีความจำเป็นต่อร่างกายไม่น้อยกว่า การออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่ดีมีคุณประโยชน์ 


ที่มา : http://manager.co.th/GoodHealth

Comments

Popular posts from this blog

สบู่ที่เราใช้ในทุกวันนี้ มีกี่ชนิด ?

รับผลิตและสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม

4 คำถามยอดนิยม คำถามที่คนถามกับ ChatGPT