เมนูอาหารไทย ห่างไกลโรคเรื้อรัง
อาหารการกินนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ทั้งช่วยทำให้ผู้บริโภคสุขภาพดีห่างไกลโรคร้าย ในขณะเดียวกันอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันอาหารไทยเราได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศทั่วโลก มีร้านอาหารไทยกว่า 2 หมื่นร้าน ใน 93 ประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากรสชาติของอาหารไทยจะอร่อยถูกใจแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย คนไทยเราโชคดีกว่าผู้คนอีกหลายประเทศที่ได้รับประทานเครื่องเทศ สมุนไพร ผัก ผลไม้ ที่ใหม่สดเสมอ แต่น่าเสียดายที่คนไทยส่วนหนึ่งกลับหันไปนิยมบริโภคอาหารต่างชาติ ที่เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์และไขมันสูง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นมะเร็งกันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เป็นทุกวันนี้
หลายคนอาจเคยได้รู้จัก 9 เคล็ดลับอาหารต้านมะเร็งมาแล้วคือ กินผักหลายสีทุกวัน ขยันหาผลไม้เป็นประจำ ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหารเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าละเลยปรุงอาหารถูกวิธี หลีกหนีอาหารไขมัน หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง แต่ในทางปฏิบัติหลายท่านคงอยากทราบว่ารายการอาหารที่แนะนำให้กินได้บ่อยๆ กินเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งน่ะมีหรือไม่
วันนี้ได้โอกาส แนะนำรายการอาหารไทยต้านมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยของอาจารย์มลฤดี สุขประสารทรัพย์ และอาจารย์แก้ว กังสดาล อำไพ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย มหิดล เคยนำเสนอไว้ตั้งแต่ปี 2552 โดยใช้สารสกัดจากอาหารไทย 22 รายการ ซึ่งแต่ละชนิดถูกเติมลงในสารละลาย ของแต่ละแบบจำลองแล้วนำมาทดสอบการก่อกลายพันธุ์โดยการศึกาการยับยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์จองสารเคมีที่เป็นตัวแทนสารพิษที่ได้จากการกินเนื้อสัตว์ปิ้งย่างรมควัน คือ สารก่อมะเร็งโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ สารพีเอเอช ระหว่างทำปฏิกิริยา กับไนไตรต์ พบว่า รายการอาหารไทยที่ให้ผลในการยังยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ได้ดีในระดับสูง 12 รายการตามลำดับ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผัดคะน้าน้ำมันหอย ไก่ทอดสมุนไพร ทอดมันปลากราย แกงเลียง ไข่เจียวใส่หอมหัวใหญ่และมะเขือเทศ ผัดกะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาก แกงเผ็ดเป็ดย่าง แกงจืดตำลึง ไก่ผัดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ส้มตำไทย และผัดผักรวมน้ำมันหอย
ใครชอบเมนูไหนก็จำไว้นะครับ สลับสับเปลี่ยนหมุ่นเวียนเมนูในรอบสัปดาห์ แต่อย่างถึงขนาดไม่กินอาหารเมนูอื่นๆ นอกเหนือจาก 12 รายการที่ว่านะครับ อาหารอื่นๆ ก็ยังรับประทานได้ แต่อย่าลืมนะว่า ยังต้องออกกำลังการเป็นนิตย์ ทำจิตแจ่มใส กินผักผลไม้ กินอาการหลายหลาย และตรวจร่างกายเป็นประจำด้วยนะครับ...ขอบอก
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก โดยนพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
Comments
Post a Comment